วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

BCOM1601

ระบบสารสนเทศในธุรกิจโรงแรม



ที่มา http://www.hrwm2011.org/ประโยชน์ของการใช้ระบบสนเทศ

       ธุรกิจโรงแรมระบบสารสนเทศเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีปริสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยิ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่มีระบบที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจโรงแรมได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้แซงหน้าคู่แข่งได้ เช่น
  1. ระบบสารสนเทศการจัดการห้องพัก เช่น เช็คสถานะของห้องพักว่ามีการ Check in หรือ Check out กี่ห้องจำนวนห้องที่มีการจองกี่ห้องประเภทของห้องมีอะไรบ้างเตียงเดี่ยวหรือเตียงคู่ จำนวนคนผู้เข้าพัก ราคาห้องพักต่อคืน
  2. ระบบสารสนเทศเพื่อการขายและการตลาดมีหน้าที่หลักทางการขายและการตลาด(sale and marketing) การวางแผนเกี่ยวกับห้องพัก เป็นต้นว่า ความสามารถในการให้บริการ แนวโน้มการบริการการกำหนดช่องทางการจองใช้บริการการกำหนดราคาห้องพักการให้ส่วนลดต้นทุน ผลกำไร และการกำหนดรูปแบบการส่งเสริมการขาย เช่น การโฆษณา การกำหนดโปรโมชั่นสำหรับลูกค้า VIP หรือช่วงเทศกาล
  3. ระบบสารสนเทศสินค้าคงคลังทั้งในส่วนของห้องพัก เช่นจำนวนผ้าที่นอนปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัวมีจำนวนสินค้าคงคลังเท่าไหร่สถานะของสินค้าคงคลังเป็นอย่างไรบ้างเป็นต้นห้องอาหารจำนวนอุปกรณ์เครื่องครัวมีการชำรุดเสียหายหรือไม่วัสดุอุปกรณ์แต่ละประเภทมีจำนวนเท่าไหร่บ้าง
  4. ระบบงานบริการ เพื่อเป็นการสร้างความเป็นระบบในการให้บริการ ควรมีการวางแผนและกำหนดขอบเขตงานให้ชัดเจน ดังตัวอย่างงานบริการของโรงแรม
  5. ระบบสารสนเทศข้อมูลลูกค้าเป็นการเก็บข้อมูลลูกค้าอาทิเช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ Email อาชีพ เพื่อเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำระบบสมาชิก รวมไปถึงการจัดโปรโมชั่นให้ลูกค้า             

ฟังก์ชันหลักของระบบ


1. Property Managment System (PMS) 

• Front Office ที่ใช้ในการปฏิบัติงานและบริหารเกี่ยวกับการจอง การลงทะเบียนผู้เข้าพัก ข้อมูลผู้เข้าพัก สถานะห้องพัก ค่าใช้จ่ายของแขกที่เข้าพัก

• Back Office ใช้ในการตรวจเช็คข้อมูล สถานะของห้องพักสำหรับการปฏิบัติงานสนับสนุนของแผนกต่างๆ

• ระบบเชื่อมต่อกับระบบการทำงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

2. Point of Sales System (POS)

• ระบบที่นำมาใช้กับห้องอาหารเป็นหลัก คือโปรแกรมจุดขาย (point of sales) มีการทำเมนู ราคา การนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Touch screen, Kiosk, Self Service มาใช้ในการให้บริการ

• บางโรงแรมจะนำไปประยุกต์ใช้กับงานส่วนอื่น เช่น Spa, Gift shop หรืออื่นๆ โดยเพียงแค่เปลี่ยนราคาสินค้าที่ขาย รายได้ทั้งหมดจะถูก Online เข้าไปใน Folio ห้องแขก ในส่วนของ PMS และถ้ามีการเชื่อมโยงกับ store ก็จะเป็นการไปตัด cost inventory ด้วย

3. Accountant System

• ระบบบัญชี สำหรับใช้ในการคิดคำนวณทางด้านบัญชีแยกประเภทต่างๆภายในโรงแรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานในด้านบริหารรายได้ค่าห้องพักืและบริการอื่นๆ ตลอดจนการบริหารทรัพย์สินต่างๆของโรงแรมที่ใช้ในการคิดคำนวณทางด้านบัญชีต่างๆ อาทิ สินค้าคงคลัง(Inventory) สินทรัพย์(Assets) เป็นต้น

• ระบบนี้อาจทำงานได้ทั้งแบบอิสระหรือเชื่อต่อกับระบบPMSเพื่อจัดการบัญชีค่าใช้จ่ายของแขกที่มาพักในโรงแรมด้วย

4. Human Resource Management (HRM)

• เป็น software ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ เช่น ทะเบียนประวัติพนักงาน (Personnel) การจ่ายเงินเดือน (Payroll) การควบคุมเวลาเข้าออก (Time Attendance) เป็นต้น

ที่มา http://hosgroup1.blogspot.com/2010/09/blog-post.html


ฟังก์ชันเสริมของระบบ


1. Online Distribution System ระบบการจัดจำหน่ายห้องพักผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ ที่มีการขายแบบ Real Time อาทิ GDS, IDS,CRS, Hotel Website 
      เป็นระบบแบบ Real Time และ Interactive ที่ลูกค้าสามารถจะตรวจสอบสถานะห้องว่างราคาที่เป็นปัจจุบัน ทำการจอง และยืนยันการจองได้ในทันทีแบบอัตโนมัติ ระบบนี้มีทั้งแบบทำงานโดยอิสระ หรือทำงานเชื่อมต่อกับระบบ PMS

2. ระบบนี้ต่างจากระบบจองห้องพัก (Reservation System)     คือGDSไม่ได้เป็นเจ้าของระบบแต่เป็นผู้ใช้บริการจากระบบเพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดของโรงแรมและการกระจายต่อให้กับนักท่องเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง

3. Customer Relationship Management System (CRM)ะบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า สำหรับโรงแรม/ที่พัก ที่มุ่งเน้นในด้านการรักษาลูกค้า และเพิ่มพูน
    ธุรกิจผ่านทางลูกค้าเก่าที่มีประสบการณ์กับทางโรงแรม จะนำเอาระบบนี้เข้ามาใช้งาน ซึ่งอาจจะเป็นการใช้งานแบบอิสระ หรือการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับระบบ PMS หลักของโรงแรม และระบบบริหารจัดการรายชื่อผู้ติดต่อในระบบอื่นๆที่ใช้งานอยู่ด้วยก็ได้

4. Internet Connection เป็นการสื่อสารและบริการในธุรกิจโรงแรม ปัจจุบันการสื่อสารผ่านทางอีเมลล์ เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง รองลงมาจากการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง การให้บริการอินเตอร์เน็ตสำหรับลูกค้าที่เข้าพัก

5. Call Center ศูนย์รวมการให้บริการสำหรับลูกค้า โรงแรมระดับ 4-5 ดาวในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีการรวมศูนย์การให้บริการ ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการบริการแก่ลูกค้าที่มาพักในโรงแรมแถมยังสามารถเก็บสถิติการให้บริการได้อีกด้วย

ที่มา http://www.spdesignmarketing.co.th/blog/it-การบริหารธุรกิจโรงแรม/

บทบาทสำคัญของระบบสารสนเทศของโรงแรม


  • ช่วยธุรกิจในการขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น
  •  ช่วยในการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้า
  •  ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานของผู้ประกอบการ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้กับธุรกิจและเพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้า
  • ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างธุรกิจต่างๆในเครือข่าย

วัตถุประสงค์หลักที่หน่วยงานนำระบบสารสนเทศของโรงแรมมาใช้งาน



  •  ความต้องการขยายตลาด ไม่ว่าจะเป็นการขายบริการเก่าให้แก่ลูกค้าเก่า
  • และใหม่ หรือการขายบริการใหม่ให้แก่ลูกค้าทั้งสองแบบ หรือความต้องการเปิดตลาดใหม่ๆให้กว้างขึ้น 
  • การแข่งขันด้านการให้บริการ เพื่อให้ลูกค้าประทับใจและกลับมาใช้บริการซ้ำ
  • ความต้องการสร้างเครือข่ายของการบริการ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าให้มากที่สุด
  • ความต้องการปรับปรุงการปฏิบัติงานในองค์กร เพื่อให้มีการประสานงานในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ เพื่อให้เข้าสู่ธุรกิจยุคอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
  • เชื่อมโยงกับบริษัทคู่ค้า เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และสร้างรายได้
  • ให้กับองค์กร

 ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation System : OAS )

          เป็นระบบสำหรับเชื่อมโยงการทำงานของเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล การค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล การจัดตารางนัดหมาย การประชุมทางไกล สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง เช่น พนักงานป้อนข้อมูล(Data Entry Worker)ป็นกลุ่มพนักงานที่มีความรู้ในระดับต่ำกว่าผู้ชำนาญการ (Knowledge Workers) OAS เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างกัน

ระบบสำนักงานอัตโนมัติประกอบด้วย

             · ระบบจัดการเอกสาร
             · ระบบจัดการด้านข่าวสาร
             · ระบบประชุมทางไกล
             · ระบบสนับสนุนสำนักงาน



ที่มา http://blog.vzmart.com/ระบบสำนักงานอัตโนมัติ-office-automation-system-oas/
          

OAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ
      1. รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ E – mail , FAX
     2.รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing) การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video – Conferencing)

องค์ประกอบสำคัญของ OAS คือ

     1. Networking System คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร
    2. Electronic Data Interchange คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน
     3. Internet Working (Internet) คือ การรวมตัวกันของระบบข่ายงาน ที่กระจายอยู่ทั่วโลกจนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
     4. Paperless System คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษ
อาทิ Post Of Sale (POS) เป็นการขายแบบมีการบันทึกรายการขายและรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกับสินค้าทันทีที่มีการขาย ณ จุดขายนั้นๆ



ที่มา http://blog.vzmart.com/ระบบสำนักงานอัตโนมัติ-office-automation-system-oas/


วัตถุประสงค์ของการจัดสำนักงานอัตโนมัติ

  1. ต้องการความสะดวก
  2. ต้องการสั่งผ่านสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง
  3. เพื่อลดปริมาณคนงาน และปริมาณงานด้านเอกสาร
  4. ต้องการความยืดหยุ่น
  5. เพื่อที่จะสามารถขยายงานต่อไปได้ในอนาคต

ข้อดีของระบบ

  1. ได้ข้อมูลรวดเร็วทันทีกับความต้องการ
  2. ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องมากขึ้น
  3. ประหยัดเวลาและค่าใช่จ่ายในด้านแรงงาน
  4.  เพิ่มประสิทธิภาพด้านการติดต่อสื่อสาร
  5.  ลดงานในการควบคุมที่ไม่จำเป็น
  6. เกิดการควบคุมงานในภาพรวมดีขึ้น เพราะคุณภาพงานสูงขึ้น
  7. ช่วยปรับปรุงขวัญและกำลังใจในการทำงานและเพิ่มความพึงพอใจในงาน  

ข้อเสียของระบบ

  1.  เครื่องใช้สำนักงานส่วนใหญ่ต้องใช้กระแสไฟฟ้า หากไฟฟ้าขัดข้องไม่สามารถใช้เครื่องมือ หรือออุปกรณ์ได้
  2. หน่วยงานที่อยู่ห่างไกลมีอุปสรรคมากเช่นไม่มีระบบไฟฟ้า(ใช้อุปกรณ์ไม่ได้) ไม่มีโทรศัพท์(ใช้ระบบสื่อสารไม่ได้)
  3. เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีปัญหาแทรกซ้อนในเรื่องไวรัสมากมาย บางครั้งอาจทำให้ข้อมูลที่บันทึกไว้หายไปหมด
  4. เครื่องใช้ อุปกรณ์มีราคาแพง
  5. ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะในการใช้เครื่องมือ
  6. เครื่องมือเทคโนโลยี สื่อสมัยใหม่มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงเร็ว ล้าสมัยเร็ว
  7. เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพสูงส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศทำให้ประเทศไทยต้องเสียดุลการค้า
  8.  ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีลิขสิทธิ์การนำมาใช้ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง

ระบบการประมวลผลรายการ(Transaction Processing Systems :TPS)

          
           ระบบประมวลผลรายการ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการ ออกมาได้ รายการ (Transaction) คือ การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ดและการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง จัดเป็นรายการทั้งสิ้น ระบบประมวลผลรายการนิยมใช้ในการประมวลผลบัญชี, การขาย, หรือประมวลผลข้อมูลสินค้าคงคลัง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของระบบสารสนเทศอื่นๆในองค์กร

 ระบบประมวลผลรายการสามารถแบ่งตามวิธีการประมวลผลข้อมูล ได้แก่
         1. ระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing System) ข้อมูลจากหลายๆรายการ จากผู้ใช้หลายๆ คน หรือจากช่วงเวลาหลายๆ ช่วง ถูกรวมเข้าด้วยกัน, นำเข้า และประมวลผลเหมือนเป็นกลุ่มเดียว ตัวอย่างเช่น ยอดขายรายวันซึ่งถูกประมวลผลเพียงวันละหนึ่งครั้ง จะใช้ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มนี้เมื่อข้อมูลไม่จำเป็นต้องปรับปรุงทันที และเมื่อมีข้อมูลจำนวนมากที่คล้ายกัน ต้องถูกประมวลผลในครั้งเดียวกัน
        2. ระบบการประมวลผลแบบออนไลน์ (Online Processing System) รายการถูกประมวลผลเมื่อเกิดรายการนั้นขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
           - การประมวลผลเชิงรายการ (Transactional Processing) ข้อมูลถูกประมวลผลเมื่อป้อนข้อมูลเข้าโดยไม่ต้องเก็บไว้ประมวลผลในภายหลัง เช่น ระบบเช็ครายการสินค้าออกของร้านขายของชำ โดยระบบจะทำการออกใบเสร็จรับเงินที่แสดงรายการสินค้าทันทีหลังจากรายการสินค้าต่างๆ ที่ซื้อ ถูกประมวลผล
       - การประมวลผลแบบทันที (Real-time Processing) ใช้ในระบบควบคุม หรือระบบที่ต้องการให้เกิดผลสะท้อนกลับ เช่นขบวนการควบคุมอุณหภูมิของห้างสรรพสิน การทำงานของการประมวลผลแบบทันที สามารถไปมีผลกระทบกับตัวรายการนั้นๆ เอง ถ้าผู้ใช้หลายรายแข่งขันกันเพื่อใช้ทรัพยากรเดียวกัน เช่นที่นั่งบนเครื่องบิน หรือในชั้นเรียนพิเศษ
batchrealtime
ที่มา http://chanoknartkampho.blogspot.com/2012/12/oasdss-mistpsesskws.html




วัตถุประสงค์ของ TPS
         1) มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
         2) เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว
         3) เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้
         4) เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS
หน้าที่ของ TPS
  1. การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
  2. การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
  3. การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
  4. การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกระทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
  5. การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย 

ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS
  • มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
  • แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลักอย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนในการป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง
  • กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์
  • มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
  • มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
  • TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
  • ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data)
  • ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย
  • มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
  • ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง


ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)

        ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูลซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมากนอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย


คุณสมบัติของระบบ MIS คือ

  • ระบบ MIS สนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน 
  • ระบบ MIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กร
  • ระบบ MIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
  • ระบบ MIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงขององค์กร
  • ระบบ MIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ที่มา https://kwangmju.wordpress.com/


การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้


  1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง 
  2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง 
  3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน 
  4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบเดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมากทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่

  • ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS) 
  • ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS) 
  • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) 
  • ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS) 


ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System – DSS)


    ระบบช่วยตัดสินใจ หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินในเพื่อผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS) บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัท การขยายโรงงานใหม่ เป็นต้น
คุณสมบัติของระบบ DSS คือ
  •  ระบบ DSS จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ
  •  ระบบ DSS จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้
  • ระบบ DSS จะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
  • ระบบ DSS มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
  •  ระบบ DSS ต้องเป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่ายผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
  • ระบบ DSS ต้องสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
  • ระบบ DSS ต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
  • ระบบ DSS ต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้
  • ระบบ DSS ต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
  •  ระบบ DSS มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ

ที่มา http://xn--computer-rpzuija9i2h7a.blogspot.com/2013/05/decision-support-systems.html


ประเภทของระบบ DSS


1. DSS แบบให้ความสำคัญกับข้อมูล (Data-Oriented DSS)เป็น DSS ที่ให้ความสำคัญกับเครื่องมือในการจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบทางสถิติ ตลอดจนการจัดข้อมูลในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้ทำความเข้าใจสารสนเทศ และสามารถตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

2.DSS แบบให้ความสำคัญกับแบบจำลอง (Model-Based DSS) เป็น DSS ที่ให้ความสำคัญกับแบบจำลองการประมวลปัญหา โดยเฉพาะแบบจำลอง พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) และแบบจำลองการวิจัยขั้นดำเนินงาน(Operation Research Model) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหา และปรับตัวแปรที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

ที่มา


ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS หรือ Executive Support System: ESS)

           ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้นโดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัสเพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

คุณสมบัติของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร 

  •    สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Supportปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Factors) เพื่อที่จะสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธ์ภาพในการกำหนดแผนทางกลยุทธ์ที่สมบูรณ์
  •    เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment Focus)EIS ที่ ดี จะต้องมีการใช้ฐานข้อมูลขององค์การได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังจะต้องออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับแหลงข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์การเพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
  •  มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง (Broad-based Computing Capabilities)ผู้บริหารต้องการจึงเป็นลักษณะง่าย ๆ ชัดเจน เป็นรูปธรรม และไม่ซับซ้อนมาก เช่น การเรียกข้อมูลกลับมาดู การใช้กราฟ การใช้แบบจำลองแสดงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
  •  ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of Learning and Use)การพัฒนา EIS จะต้องเลือกรูปแบบการ แสดงผลหรือการโต้ตอบกับผู้ใช้ในแนวทางที่ง่ายต่อการใช้งาน และใช้ระยะเวลาสั้น เช่น การแสดงผลรูปกราฟ ภาษาที่ง่าย และการโต้ตอบที่รวดเร็ว
  •   พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Customization)นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer) ต้องคำนึงถึงในการพัฒนา EIS เพื่อให้สามารถพัฒนา EIS ให้มีศักยภาพสูง มีประสิทธิภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นแบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ

คุณสมบัติของระบบ EIS

  • มีการใช้งานบ่อย
  • ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
  • ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
  •  การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
  •  การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
  •  ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
  •  การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
  •  ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด


ข้อดีของระบบ EIS


     1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน

     2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์

     3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ

     4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น

     5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา

     6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น



ข้อด้อยของระบบ EIS


     1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน

     2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป

     3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ

     4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้

     5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้

     6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

     7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล




ที่มา http://slideplayer.in.th/slide/2073634/


ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศที่จำแนกตามการบริหารงาน

ที่มา https://sites.google.com/site/kannikapinsay75/abut-me



 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES)


             ระบบผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งคล้ายกับมนุษย์ ระบบนี้ได้รับความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์เหตุผลเพื่อตัดสินใจความรู้ที่เก็บไว้ในระบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้ (Knowledge Bass) และกฎข้อวินิจฉัย (Inference การแบ่งประเภทสารสนเทศมีความหลากหลายแล้วแต่จะใช้องค์ประกอบใดเป็นหลัก เช่นการวินิจฉัยความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้าโดยใช้คอมพิวเตอร์


ส่วนประกอบของ ES



  1. ฐานความรู้ (knowledge base) เป็นส่วนที่เก็บความรู้ทั้งหมดของผู้เชี่ยวชาญที่รวบรวมจากการศึกษาและจากประสบการณ์ โดยมีการกำหนดโครงสร้างของข้อมูล (Data Structure) ให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
  2. เครื่องอนุมาน (inference engine) เป็นส่วนควบคุมการใช้ความรู้ในฐานความรู้ เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เราสามารถกล่าวได้ว่า เครื่องอนุมานเป็นส่วนการใช้เหตุและผลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ES โดยที่เครื่องอนุมานจะทำหน้าที่ตรวจสอบกฎเกณฑ์ที่อยู่ใน ฐานความรู้ โดยการใช้เหตุผลทางตรรกะสำหรับแต่ละเหตุการณ์ ซึ่งมักจะอยู่ในลักษณะ ถ้า…แล้ว…           
  3. ส่วนดึงความรู้ (knowledge acquisition subsystem) เป็นส่วนที่ดึงความรู้จากเอกสาร ตำรา ฐานข้อมูล และเชี่ยวชาญ ทีมพัฒนาจะทำการจัดความรู้ที่ได้มาให้อยู่ในรูปที่เข้ากันได้กับโครงสร้างของฐานความรู้ เพื่อที่จะได้สามารถบรรจุความรู้ที่ได้มาลงในฐานความรู้ได้
  4. ส่วนอธิบาย (explanation subsystem) เป็นส่วนที่อธิบายถึงรายละเอียดของข้อสรุปหรือคำตอบที่ได้มานั้น มาได้อย่างไร และทำไมถึงมีคำตอบเช่นนั้น
  5. การติดต่อกับผู้ใช้ (user interface)ผู้พัฒนาระบบจึงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการติดต่อระหว่าง ES กับผู้ใช้ ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง ES กับผู้ใช้ที่มีความสะดวก ทำให้ผู้ใช้เกิดความพอใจและสามารถใช้ระบบจนเกิดความชำนาญ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
ที่มา  https://www.gotoknow.org/posts/353661http
                             

ลักษณะเด่นของ AI/ES


  1. ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูลตลอดจนการสูญหายเนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้อย่างเป็นระบบและเป็oระเบียบ แบบแผน
  2. ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
  3. การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งานซึ่งจะทำให้ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ระบบผู้เชี่ยวชาญExpert Systemจะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอนเนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศจากผลกระทบทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่นความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น
  5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ ( Modern Organization ) ที่ต้องการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ เป็นต้น

การนำระบบผู้เชี่ยวชาญไปใช้งาน (Putting Expert Systems to work) สามารถนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้



  1.  ด้านการผลิต (Production) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดตารางการผลิต และการกำหนดตารางการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมที่สุด ตลอดจนการกำหนดโอกาสในการนำเอากากวัสดุไปผลิตอีกครั้ง
  2. การตรวจสอบ (Inspection) ผู้ผลิตสามารถใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ที่เป็นระบบจับภาพ ซึ่งจะสามารถฉายภาพความเสียหายของวัตถุด้วยการใช้ลำแสง เพื่อป้องกันในการแพร่กระจายความเสียหายไปที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ระบบนี้ยังสามารถช่วยทำรายงานด้านการรับประกันคุณภาพ ที่เกี่ยวกับชิ้นส่วนของวัตถุในเรื่องความชำรุดเสียหาย และวิธีการในการแก้ไขด้วย
  3.  การประกอบชิ้นส่วน (Assembly) ระบบผู้เชี่ยวชาญ XCON สามารถช่วยผู้ผลิตในการสร้างโครงร่างคำสั่งซื้อของลูกค้าไปเป็นแผนผังภาพ ซึ่งจะแสดงให้เห็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า และยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ
  4. ด้านบริการ (Field service) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) เป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้จัดการด้านการบริการและพนักงานซ่อมแซมทั่วไป (ช่าง) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยให้ช่างเข้าใจถึงลำดับขั้นตอนในการวิเคราะห์ เช่น เครื่องจักรกำลังเดินเครื่องหรือไม่ ความเสียหายเกิดขึ้นกับระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือเกิดกับส่วนใด ซึ่งเป็นการช่วยในการวิเคราะห์ตามลำดับขั้นตอนอย่างรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลาในการทำงาน
  5. การตรวจสอบบัญชี (Auditing) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยผู้ตรวจสอบบัญชีในเรื่องกระบวนการตรวจสอบบัญชีเพื่อความถูกต้อง เช่น สำหรับบัญชีลูกหนี้ (Account receivable) จะมีการป้อนข้อมูลลูกหนี้เข้าไปในระบบผู้เชี่ยวชาญ สิ่งที่ได้จากระบบคือการเสนอแนะกระบวนการในการตรวจสอบนั่นเอง
  6.  ด้านบุคคล (Personnel) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยแผนกบุคคลในการเตือนผู้ใช้ในเรื่องที่สำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายของบริษัท และยังช่วยในการสร้างคู่มือให้แก่พนักงาน
  7. ด้านการตลาดและการขาย (Marketing and sales) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) สามารถทำงาน 6 งานพร้อมกันภายในไม่กี่วินาที ในขณะที่พนักงาน 1 คน ใช้เวลา 20-30 นาทีในการทำงาน 1 งาน

ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Benefits of Expert Systems)


  1. ช่วยรักษาความรู้ที่อาจสูญเสียไปเมื่อเกิดการลดออกของพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ
  2. ช่วยทำให้ข้อมูลมีคุณภาพและมีศักยภาพในการนำมาใช้งานได้อย่างทันท่วงทีเมื่อต้องการ
  3. ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่
  4. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อาจเกิดกับมนุษย์ เช่นความเมื่อยล้า ความสับสนวุ่นวาย หรือปัญหาด้านอารมณ์
  5. ใช้เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ ด้านการตลาด การลดต้นทุน และการปรับปรุงพัฒนาสินค้า

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems : GIS)

          ระบบการทำงานที่ผสมผสานกันระหว่างฮาร์ตแวร์ ซอฟแวร์ และข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลที่ได้จากการถ่ายภาพ หรือภาพถ่ายดาวเทียม รวมถึงการรวบรวม การบริหารจัดการ การวิเคราะห์ และการแสดงรูปแบบข้อมูลทางแผนที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้มองเห็น และเข้าใจภาพรวมทั้งหมดที่แสดงออกมาผ่านแผนภูมิ แผนที่ และรายงานต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง ไม่เพียงเท่านี้ ระบบ GIS ยังสามารถตอบคำถามที่ต้องการได้อีกด้วย ทั้งนี้ระบบ GIS สามารถนำมาผสมผสานและประยุกต์ใช้ได้กับทุกหน่วยงาน ซึ่งนับว่ามีอรรถประโยชน์มากหากนำใช้ให้ถูกวิธีนั่นเอง


ที่มา  https://yingpew103.wordpress.com/ 012/12/03/ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์/

องค์ประกอบในการทำงานของระบบ GIS


ที่มา http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2656

  1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (hardware) หมายถึง คอมพิวเตอร์และเครื่องต่อพ่วงอื่นๆ ทั้งเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ กล้องถ่ายรูป ที่มีหน้าที่ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน 
  2. โปรแกรม(software)คือกลุ่มโปรแกรมสำเร็จรูปที่ติดตั้งบนระบบฮาร์ดแวร์เพื่อให้ระบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถทำงานได้ตามที่ได้รับการออกแบบไว้โดยมีโปรแกรมหลักคือโปรแกรม WINDOW, UNIX โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น โปรแกรม ARC/INFO โปรแกรม PAMAP โปรแกรม INTERGRAPH, AutoCAD MAP, MAPINFO
  3. ขั้นตอนการทำงาน (methods) คือ วิธีการที่องค์กรนั้นๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบ แต่ละองค์กรย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุด สำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง ซึ่
  4. บุคลากร (people) คือ บุคคลที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์และทางด้านภูมิศาสตร์ สามารถวิเคราะห์และออกแบบแผนที่และแผนภูมิที่เป็นผลลัพธ์ของการวิเคราะห์เพื่อแสดงผลได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานว่าด้วยวิชาการออกแบบแผนที่ (Cartography) โดยจำแนกบุคลากรตามลักษณะงานดังนี้ เช่นพนักงานภาคสนามพนักงานเตรียมข้อมูลและต้นร่างพนักงานป้อนข้อมูล พนักงานวิเคราะห์ข้อมูล และพนักงานออกแบบแผนที่ เป็นต้น 
  5. ข้อมูล (data) แหล่งข้อมูลของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photographs) หรือ ภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite Imagery) นอกเหนือจากข้อมูลเชิงพื้นที่ข้างต้นแล้วระบบสารสนเทศยังต้องการข้อมูลเชิงบรรยาย ที่จะช่วยขยายความด้านรายละเอียดของข้อมูลเชิงพื้นที่ตัวอย่างของข้อมูลเชิงบรรยาย ได้แก่ ชื่อของหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากรชาย-หญิง เป็นต้น 

ขั้นตอนการทำงานของ GIS

  1. การนำเข้าข้อมูล(input)ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องถูกแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลเชิงตัวเลข (digital format) ก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่อง คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าเช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น 
  2.  การปรับแต่งข้อมูล (manipulation) ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบ บางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกันหรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ในระดับเดียวกันเสียก่อน
  3. การบริหารข้อมูล (management) ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะถูกนำมาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS 
  4.  การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (query and analysis) เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ 
  5. การนำเสนอข้อมูล (visualization) จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษรซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจการนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั้งระบบมัลติมีเดียสื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น อีก ทั้งเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย

https://yingpew103.wordpress.com/2012/12/03/สารสนเทศภูมิศาสตร์/

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  1. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การกำหนดพื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ ทั้งบนผิวดินและใต้ดิน ธรณีวิทยาหินและแร่ ชายฝั่งทะเลและภูมิอากาศ
  2. ด้านการจัดการทรัพยากรเกษตร เช่น การแบ่งชั้นคุณภาพพื้นที่เกษตร ดินเค็มและดินปัญหาอื่น ความเหมาะสมของพืชในแต่ละพื้นที่ การจัดระบบน้ำชลประทาน การจัดการด้านธาตุอาหารพืช
  3. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การแพร่กระจายของฝุ่นและก๊าซ การกำหนดจุดเก็บตัวอย่างจาก โรงงาน การป้องกันความเสียหายของโบราณสถานหรือสถานที่ท่องเที่ยว การป้องกันไฟไหม้ป่า เป็นต้น
  4. ด้านสังคม เช่น ความหนาแน่นของประชากร เพศ อายุ การศึกษา แรงงาน ตำแหน่งของโรงเรียนและการเดินทางของนักเรียน เป็นต้น
  5. ด้านเศรษฐกิจ เช่น รายได้ของประชากรของหมู่บ้าน ตำบล สินค้าหลัก ตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานประเภทต่างๆ เป็นต้น


 https://yingpew103.wordpress.com

 ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence Systems: BI)

          Business Intelligence (BI)หรือระบบธุรกิจอัจฉริยะ เป็นระบบที่ใช้ในการพยากรณ์อนาคตของธุรกิจ ช่วยในการตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ BI เป็นเหมือนฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในลักษณะที่เอื้อต่อการนำข้อมูลไปใช้ในสนับสนุนการตัดสินใจซึ่งจะประกอบไปด้วยระบบข้อมูล และโปรแกรมแอพพลิเคชั่นด้านการวิเคราะห์มากมายหลายระบบ 


องค์ประกอบสำคัญของ BI 


              เทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงาน Business intelligence คือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในลักษณะที่เอื้อต่อการนำข้อมูลไปใช้ในสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งจะประกอบไปด้วยระบบข้อมูล และโปรแกรมแอพพลิเคชั่น ด้านการวิเคราะห์ มากมายหลายระบบ เช่น

- ดาต้าแวร์เฮ้าส์ (Data Warehouse)คือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร โดยมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับการนำข้อมูลที่ต้องการนำมาใช้งาน- ดาต้ามาร์ท (Data Mart) คือ คลังข้อมูลขนาดเล็กมีการเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง เช่น เก็บข้อมูลส่วนของการเงิน ส่วนของสินค้าคงคลัง ส่วนของการขาย เป็นต้น ซึ่งทำให้การจัดการข้อมูลการนำเอาข้อมูลไปสร้างความสัมพันธ์และวิเคราะห์ต่อก็ง่ายขึ้น

- การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)คือการนำคลังข้อมูลหลักมาประมวลผลใหม่ มาแสดงผลเฉพาะสิ่งที่สนใจโดยกระบวนการในการดึงข้อมูลออกจากฐานข้อมูลจะมีสูตรทางธุรกิจ (Business Formula)และเงื่อนไขต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องและผลลัพธ์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่นเป็นแผนภูมิในการตัดสินใจ (Decision Trees) เป็นต้น - เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติ (OLAP) คือการสืบค้นข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเลือกผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบของตารางหรือกราฟ โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลใน มุมมองหลากหลายมิติ (Multi-Dimensional) โดยที่ผู้ใช้สามารถที่จะดูข้อมูลแบบเจาะลึก(Drill Down) ได้ตามต้องการ

- ระบบสืบค้นและออกรายงานต่างๆ (Search, Report)


การนำระบบธุรกิจอัจฉริยะไปใช้ 

  • การจัดทำประวัติของลูกค้า
  • การประเมินถึงสภาพของตลาด
  • การจัดกลุ่มของตลาด
  • การจัดลำดับทางด้านเครดิต
  • การเพิ่มความสามารถในกรทำกำไรของผลิตภัณฑ์
  • การจัดการความเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลัง

จุดเด่นของ Business Intelligence 

  • สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่หลากหลายภายในองค์กรมาทำการวิเคราะห์ เช่น Excel, FoxPro, Dbase, Access โดยไม่มีการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมใดๆ
  • ใช้งานง่ายสะดวกสบาย เพียงแค่คลิกเมาส์ก็สามารถเปลี่ยนแปลงรายงานได้โดยไม่ต้องมีการคีย์ข้อมูลใหม่

วัตถุประสงค์หลักของธุรกิจอัจฉริยะ

  1. ทำให้เจ้าของธุรกิจผู้บริหาร หรือพนักงานที่เกียวข้องสามารถเข้าถึงเข้ามูลได้ง่าย ช่วยให้สามารถวิเคราะ์และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ
  2. ธุรกิจอัจฉริยะช่วยเปลี่ยนสภาพ(transform)ข้อมูล (Data) ไปสู่สารสนเทศ (Information) และองค์ความรู้(Knowledge)สุดท้ายทำให้ผู้ใช้สามารถติดสินทางธุรกิจได้ (Make Business Decision) อย่างชาญฉลาด แล้วนำไปปฏิบัติจนเกิดผล (Take Action)
  3. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กร
  4. ช่วยให้สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคหรือลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระบวนการหลักของธุรกิจอัจฉริยะ

  1. Decision Support
  2. Query Data
  3. Report
  4. OLAP
  5. Statistical Analysis
  6. Prediction
  7. Data Mining

http://slideplayer.in.th/slide/2113808/





ที่มา http://www.workboxs.com/thai/hotel-reservation-software.html
http://hosgroup1.blogspot.com/2010/09/blog-post.html
http://www.spdesignmarketing.co.th/blog/it-การบริหารธุรกิจโรงแรม/
http://blog.vzmart.com/ระบบสำนักงานอัตโนมัติ-office-automation-system-oas/
http://chanoknartkampho.blogspot.com/2012/12/oasdss-mistpsesskws.html
https://yingpew103.wordpress.com/ 012/12/03/ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์/
http://www.hrwm2011.org/2015/ประโยชน์การใช้ระบบสารสนเทศ
http://ac2-009.blogspot.com/2012/07/tps-mis-dss-eis-es-oas.html
http://free4marketing.blogspot.com/2011/04/evaluating-salesmen.html
http://www.siamhr.com/web/guest/724




ผู้จัดทำ
  1. นางสาว ธนัชพร อุตมา 58124806
  2. นางสาว พรนภัส      แช่มปรีชา       58124830
  3. นางสาว จิรัชญา จันตาบุญ 58124863
  4. นางสาว กมลนุช จี้ธรรม 58124868
  5. นางสาว สมศรี กุ่งนะ 58124879
  6. นางสาว จันทร์จิรา   คุณยศยิ่ง         58124881







      




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น